สาระน่ารู้

MOU หรือ Memorandum of Understanding คือเอกสารหรือหนังสือที่มีการบันทึกข้อตกลง หรือความเข้าใจระหว่างองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยตัวแทนของทุกฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงนั้นเพื่อให้เอกสารมีผลบังคับใช้ ดังนั้นแรงงานต่างด้าว MOU ก็คือแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์นั่นเอง โดยขั้นตอนในการนำเข้าแรงงาน นายจ้างจะต้องทำ Demand MOU หรือคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว จากนั้นนายจ้างจะต้องยื่นคำร้องที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ ในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยจะต้องแจ้งจำนวนแรงงานและระบุสัญชาติของแรงงานต่างด้าวที่ต้องการให้ชัดเจน ขั้นตอนต่อไปกระทรวงแรงงานจะประสานงานไปยังประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าว เพื่อให้ช่วยประกาศรับสมัครคนงาน เมื่อได้คนงานแล้ว ประเทศต้นทางจึงจะส่งรายชื่อ (Name List) มาให้ทางไทยอนุมัติต่อไป.

แรงงานต่างด้าว MOU เปลี่ยนนายจ้างได้หรือไม่

เมื่อมีการเข้ามาทำงานในประเทศแล้ว แรงงานต่างด้าว MOU ทั้ง 3 สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ แต่จะต้องเป็นไปตามกรณีดังต่อไปนี้

- นายจ้างเลิกจ้างหรือเสียชีวิต
- นายจ้างทำทารุณกรรมหรือทำร้ายลูกจ้าง
- นายจ้างจ่ายเงินไม่ตรงกับสัญญาว่าจ้างหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
- นายจ้างล้มละลายหรือลดกำลังผลิต เนื่องจากไม่มีงานให้กับแรงงานต่างด้าว
- สภาพการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมในการทำงานอาจจะมีอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพอนามัยหรือชีวิตของลูกจ้าง
- นายจ้างใหม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้นายจ้างเก่า

หากแรงงานประสงค์จะขอเปลี่ยนนายจ้างโดยมีเหตุผลสอดคล้องกับด้านบน ลูกจ้างสามารถยื่นเรื่องขอเปลี่ยนนายจ้างได้ โดยต้องมีใบแจ้งออกจากนายจ้างเดิมและให้นายจ้างใหม่ดำเนินการแจ้งเข้าทำงานภายใน 15 วัน เอกสารในการแจ้งออก

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้